เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าว
ติเรา ติพระธรรม หรือติพระสงฆ์ ก็ตาม ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่
ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า นั่นไม่จริง
แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้แม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อนั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย
และในเราทั้งหลายก็ไม่มีข้อนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม
หรือชมพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรทำความเพลิดเพลิน
ดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่น
พึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ก็ตาม ถ้าเธอทั้งหลาย
จักเพลิดเพลิน ดีใจ เบิกบานใจในคำชมนั้น ด้วยเหตุนั้น อันตราย
พึงมีแก่เธอทั้งหลายนี่แหละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม
หรือชมพระสงฆ์ก็ตาม ในคำที่เขากล่าวชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลาย
ควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ แม้ข้อ
นั่นก็มีในเราทั้งหลาย และในเราทั้งหลายก็มีข้อนั้น.

จุลศีล


(2) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึง
กล่าวด้วยประการ นั่นมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต. . . เพียงศีลนั้นเป็น
ไฉน.

(3) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชม
ตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า

1. พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
วางทัณฑะ วางสาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา
หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.
2. พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลัก
ทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็น
ขโมย เป็นคนสะอาดอยู่.
3. พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นจากเมถุน ซึ่งเป็นเรื่องของ
ชาวบ้าน.
(4) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าว
ชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า

4. พระสมณโคดม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ
พูดคำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อ ไม่พูดลวง
โลก.
5. พระสมณโคดม ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด
ฟังจากข้างนี้แล้วไม่บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกกัน หรือฟังจาก
ข้างโน้นแล้วไม่บอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกกัน สมานคนที่แตกกัน
แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนที่พร้อมเพรียง
กัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกัน
กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน.

6. พระสมณโคดม ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ
กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นคำของ
ชาวเมือง คนโดยมากรักใคร่ ชอบใจ.
7. พระสมณโคดม ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ
พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำมี
หลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาล
อันควร.
(5) 8. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคามและ
ภูตคาม.
(6) 9. พระสมณโคดม ฉันอาหารหนเดียว เว้นการฉันใน
ราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล.
10. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องประโคม
ดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก.
11. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการทัดทรงประดับตกแต่ง
ร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว ซึ่งเป็นฐานแห่ง
การแต่งตัว.
12. พระสมณโคดม เว้นขาดจากที่นอนที่นั่งสูง และที่
นอนที่นั่งใหญ่.
13. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
(7) 14. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับธัญญชาติดิบ.
15. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
16. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสตรีและเด็กหญิง.
17. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

18. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
19. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
20. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และ
ลา.
21. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับนาและไร่.
(8) 22. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเป็นทูตและการ
รับใช้.
23. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการซื้อและการขาย.
24. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การ
โกงด้วยโลหะ และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
25. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง
และการตลบตะแลง.
26 พระสมณโคดม เว้นขาดจากการฟัน การฆ่า การ
จองจำ การตีชิง การปล้น การจี้.
จบจุลศีล

มัชฌิมศีล


(9) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชม
ตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า

1. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูต-
คาม อย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา